วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทความที่ 1

มังกรเคราสำหรับผู้สนใจเลี้ยง

สาระน่ารู้ทั่วไป

     มังกรเคราเป็นสัตว์เลี้ยงในตระกูลกิ้งก่าซึ่งอยู่ในภูมิประเทศทะเลทรายและพื้นที่ป่าแห้งในประเทศออสเตรเลียที่ได้รับความนิยมมากจากการที่มีขนาดพอเหมาะ รูปทรงที่คล้ายกับไดโนเสาร์หรือมังกรและมีการจัดการที่ไม่ยุ่งยากนักนอกจากนี้ยังเป็นสัตว์ที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถเลี้ยงให้เชื่องได้อีกด้วย
     ชื่อมังกรเครานั้นได้มาจากลักษณะของผิวหนังใต้คางที่พองขยายขึ้นเมื่ออยู่ในภาวะตื่นเต้นซึ่งจะแสดงลักษณะหนามใต้คอที่ดูคล้ายกับเครามนุษย์ มังกรเคราที่โตเต็มที่จะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 45-60 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 300-500 กรัม ซึ่งมังกรเคราจะมีอายุขัยเฉลี่ยที่ประมาณ 5-6 ปี สำหรับมังกรเคราที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติอาจมีอายุขัยสูงสุดได้มากกว่า 10 ปี
     อย่างไรก็ตามแม้มังกรเคราจะเป็นสัตว์เลี้ยงแปลกที่สามารถเลี้ยงได้ง่ายและมีความเป็นมิตร การศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจความต้องการพื้นฐานของมังกรเคราไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย หรือการแสดงออกทางพฤติกรรม รวมทั้งการทำความเข้าใจในตนเองว่าพร้อมที่จะเลี้ยงและดูแลสัตว์ชนิดนี้ได้อย่างมีสวัสดิภาพที่ดีหรือไม่นั้น ถือเป็นการเริ่มต้นที่ควรกระทำการที่จะนำสัตว์ชนิดนี้หรือสัตว์อื่นมาเลี้ยง

ภาพจาก : http://www.reptilesmagazine.com/Breeding-Lizards/Bearded-Dragon-Morphs/


วีดีโอจาก : https://www.youtube.com/watch?v=aIw0AK6XIa8


ข้อควรรู้ในการเลือกมังกรเครามาเลี้ยง

     1.ควรทำการศึกษาข้อมูลก่อนทำการเลี้ยงเนื่องจากเป็นสัตว์ที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษและสามารถทำอันตรายต่อผู้อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อมได้
     2.ควรเลือกซื้อมังกรเคราที่มีขนาดมากกว่า 15 เซนติเมตรขึ้นไป เนื่องจากมังกรเคราที่ยังเด็กจะมีความเสี่ยงต่อการป่วยได้ง่ายและต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
     3.เลือกซื้อมังกรเคราที่มีการตอบสนองที่ดีและยืนในท่าเชิดคอขึ้นและควรสังเกตความผิดปกติของร่างกายมังกรเคราว่าไม่มีลักษณะที่ผิดแปลกไป พบปรสิตภายนอก แผล หรือหนอง
     4.เมื่อนำมาเลี้ยงควรทำการปรึกษาสัตวแพทย์โดยทันทีเพื่อตรวจสุขภาพเบื้องต้นรวมถึงอุจจาระ ทั้งยังทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นในการเลี้ยงเพิ่มเติม
     5.การเลือกเพศมังกรเคราสามารถแยกได้จากปุ่มนูนบริเวณโคน หาง โดยเพศผู้จะมีปุ่มนูนสองปุ่มขนานกันสองฝั่งโคนหางและมีร่องยุบตรงกลางระหว่างทั้งสองปุ่ม ส่วนเพศเมียจะไม่มีปุ่มดังกล่าวแต่จะมีปุ่มนูนเล็กๆขวางบริเวณช่องเปิดทวารร่วม

ภาพจาก : http://www.reptile-community.com/smf/index.php?topic=25322.0


การจัดบริเวณเลี้ยง

     ในการจัดบริเวณเลี้ยงมังกรเคราอาจแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบหลักๆคือ การเลี้ยงภายในบ้าน (indoor) และการเลี้ยงนอกบ้าน (outdoor) ซึ่งโดยมากการเลี้ยงแบบภายในบ้านด้วยกรงกระจกหรือตะข่ายลวดจะเป็นที่นิยมมากกว่า

     จากภาพจะเป็นลักษณะการเลี้ยงในกรงกระจกซึ่งมังกรเคราจะมีความต้องการหลักๆได้แก่
     
     - หลอด UVB ซึ่งมีความจำเป็นในการสังเคราะห์วิตามิน D3 ในสัตว์เลื้อยคลาน
                        
     - บ่อน้ำ สถานที่กำบังและบริเวณปีนป่ายรวมทั้งวัสดุตกแต่งสำหรับแสดงออกทางพฤติกรรม พักผ่อนและซ่อนตัว
                    
     - วัสดุรองพื้นอาจใช้วัสดุทั่วไป ซังข้าวโพด ใบไม้แห้ง ดิน กระดาษ พรมสำหรับสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งจะมีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป โดยมากแนะนำให้ใช้วัสดุประเภทกระดาษเช่นหนังสือพิมพ์ กระดาษ ทำครัว หรือพรมสำหรับสัตว์เลื้อยคลาน

ภาพจาก : http://www.drsfostersmith.com/pic/article.cfm?aid=429


อาหารสำหรับมังกรเครา

     มังกรเคราเป็นกิ้งก่าชนิดกินทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งอาหารที่จะให้อาจมีเช่น แมลงจำพวกหนอนนก จิ้งหรีด ตั๊กแตน รวมทั้งแมลงบางชนิดในตระกูลแมลงสาบ สำหรับผักที่ให้ได้อาจมีพวกฟักทอง ถั่วเขียว ถั่วลันเตา ข้าวโพด บรอคโครี่ แครอท บีทรูท รวมทั้งผลไม้เช่น กีวี องุ่น สตรอวเบอรี่ ราสเบอรี กล้วย เมลอน แอปเปิ้ล พีช แพร์ เป็นต้น โดยควรมีการเสริมสารอาหารจำพวกวิตามินและแร่ธาตุสำหรับสัตว์เลื้อยคลานเพิ่มเติม สำหรับน้ำดื่มควรใช้น้ำกรองหรือน้ำกลั่น ไม่ควรใช้น้ำประปา

ตัวอย่างการให้อาหาร

     อายุ 1-2 เดือน ให้จิ้งหรีดขนาด 3/8 นิ้ว สองครั้งต่อวันโดยเสริมวิตามินและแร่ธาตุให้ในมื้อแรกของแต่ละวัน สำหรับวันอื่นๆอาจให้เป็นผักกาดเขียวปลีหั่นผสมผักอื่นๆ
     อายุ 2-4 เดือน ให้จิ้งหรีดขนาดครึ่งนิ้ว สองครั้งต่อวันโดยเสริมวิตามินและแร่ธาตุในมื้อแรกของวันอื่นๆที่ไม่ได้ให้แมลง ซึ่งจะให้เป็น ผักกาดเขียวปลี  ผักคะน้า ผักสลัด ผักกาดหอม ฟักหั่น
     อายุ 4 เดือนจนโตเต็มที่ ให้จิ้งหรีดขนาด 3/4 นิ้ว 1-2 ครั้งต่อวัน เสริมวิตามินและแร่ธาตุในวันอื่นๆ ที่ไม่ได้ให้แมลง สำหรับมื้ออื่นๆให้เป็น ผักกาดเขียวปลี ผักคะน้า ผักสลัด ผักกาดหอม ฟักหั่น
     หลังจากโตเต็มวัย ให้จิ้งหรีดระยะก่อนโตเต็มวัน หรือหนอนทุกๆ 1-2 วัน เสริมวิตามินและแร่ธาตุสัปดาห์ละสองครั้งในมื้ออื่นๆให้เป็น ผักกาดเขียวปลี ผักคะน้า ผักสลัด ผักกาดหอม ฟักหั่น
     *การให้อาหารควรมีการให้ทั้งแมลงและผักสลับกันไป

ข้อควรระวังและโรคจากสัตว์สู่คน

     ในการเลี้ยงมังกรเคราควรมีการเอาใจใส่ในการดูแลโดยเฉพาะในด้านความต้องการพื้นฐาน ทั้งการให้อาหาร การนำไปอาบแดดหรือใช้หลอดยูวีเสริมเพื่อให้มังกรเคราสามารถเติบโตได้โดยปลอดโรค โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก รวมทั้งการจัดการเกี่ยวกับสิ่งปูรองและความสะอาดของที่อยู่อาศัยซึ่งสุขอนามัยที่ไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคติดเชื้อ หรือปรสิตกับมังกรเคราได้
     แม้มังกรเคราจะเป็นสัตว์ที่เป็นมิตรแต่หากตกใจหรือไม่คุ้นเคยอาจมีการข่วนหรือกัดซึ่งทำให้เกิดแผลเปิดที่ผิวหนังซึ่งทำให้เจ็บปวดรวมทั้งติดเชื้อได้ เช่น บาดทะยัก เป็นต้น
     มังกรเคราและกิ้งก่าชนิดอื่นๆเป็นพาหะสำคัญอย่างหนึ่งของเชื้อซัลโมเนลล่า ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสียและเป็นไข้ได้ จึงควรทำการล้างมือหลังสัมผัสตัวมังกรเคราและมีการทำความสะอาดอุปกรณ์และสถานที่เลี้ยงเป็นประจำอย่างเหมาะสม และไม่ควรเลี้ยงไว้ใกล้ผู้ที่มีปัญหาทางระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ รวมถึงเด็กและสตรีมีครรภ์ ซึ่งจะมีโอกาสที่จะรับเชื้อดังกล่าวได้ง่าย

อ้างอิงและแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

Alyce Nelson, 2006. Husbandry Manual For Bearded Dragons. 2006. Source : http://nswfmpa.org/Husbandry%20Manuals/Published%20Manuals/Reptilia/Bearded%20Dragons%20(Nelson).pdf . Last seen 30 June 2015.

Foster and Smith. Bearded Dragon Species Profile: Habitat, Diet, and Care. Source : http://www.peteducation.com/article.cfm?c=17+1796&aid=2730. Last seen 30 June 2015.

Unknown author. Care For Bearded Dragons. Source : http://www.wikihow.com/Care-for-Bearded-Dragons . Last seen 30 June 2015.

Unknown author. Care of Bearded Dragons (Pogona vitticeps). Source : http://beardeddragoncaresheet.weebly.com . Last seen 30 June 2015.

Unknown author. The Bearded Dragon Everything You Need to Know About Bearded Dragons. Source : http://www.thebeardeddragon.org. Last seen 30 June 2015.

Unknown author. Pogona. Source : https://en.wikipedia.org/wiki/Pogona. Last seen 30 June 2015.

Unknown author. Bearded Dragon Guide. Source : http://www.beardeddragonguide.com. Last seen 30 June 2015.

Unknown author. Inland Bearded Dragon. Source : https://nationalzoo.si.edu/Animals/ReptilesAmphibians/Facts/FactSheets/Inlandbeardeddragon.cfm . Last seen 30 June 2015.

บทความที่ 2

ลิสทีเรีย ภัยร้ายจากอาหาร 

     เชื้อแบคทีเรียลิสทีเรีย (Listeria monocytogenes) เป็นสาเหตุของโรคลิสเทอริโอซิส (Listeriosis) โดยเป็นเชื้อที่สามารถมีชีวิตรอดได้ที่อุณหภูมิหลากหลายตั้งแต่ 0 องศาเซลเซียส และสามารถทำลายเชื้อได้ด้วยอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส Listeria spp. มี 10 สปีชี่ส์ได้แก่ L. fleischmannii L. grayi L. innocua L. ivanovii L. marthii L. monocytogenes L. rocourtiae L. seeligeri L. weihenstephanensis และ L. welshimeri

ที่มา : http://www.cdc.gov/vitalsigns/listeria/index.html

   
     โรคนี้สามารถเกิดได้จากการกินเชื้อปนเปื้อนในอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารที่ไม่ได้มีการให้ความร้อนหรือปรุงสุกเพียงพอ นอกจากนี้เชื้อยังสามารถมีชีวิตรอดและเพิ่มจำนวนได้แม้จะมีการนำเอาอาหารเหล่านั้นเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นก็ตาม

     โรคลิสเทอริโอซิสเป็นโรคที่อาจพบได้ไม่บ่อยในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่จะมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นในผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพเช่น เด็กทารก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเอดส์ รวมถึงผู้ที่มีโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการแท้งได้ในรายตั้งครรภ์ และทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้หากรักษาได้ไม่ทันท่วงที เมื่อได้รับเชื้อลิสทีเรียเข้าสู่ร่างกาย โดยมากมักจะแสดงอาการใน 30 วันหลังจากรับเชื้อ ซึ่งในรายที่ไวต่อโรคอาจแสดงอาการได้หลังจากรับเชื้อเพียง 1 วัน โดยเมื่อเชื้อเข้าสู้ร่างกายจะรุกรานเข้ากระแสเลือดผ่านทางลำไส้เล็ก ส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและแพร่ไปยังอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดอาการที่หลากหลายโดยขึ้นกับอวัยวะที่ติดเชื้อ ซึ่งบริเวณที่มีการติดเชื้อที่สามารถพบได้บ่อยคือ เยื่อหุ้มสมอง สมอง เยื่อบุหัวใจ กระเพาะอาหารและลำไส้ เยื่อบุช่องท้อง ตา ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง รวมถึงรกของสตรีมีครรภ์

อาการและความรุนแรงสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม 
 
     1. ในผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรง อาจพบแค่ว่ามีไข้ร่วมกับอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรง โดยมากมักจะดีขึ้นใน 2-3 วัน หลังการรักษา หรือสามารถหายได้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หรืออาหารเป็นพิษที่ไม่รุนแรง

     2. ในผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสียง มักพบว่ามีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อทั่วตัว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียรุนแรง ซึ่งอาการในระยะแรกจะคล้ายไข้หวัดใหญ่หรืออาหารเป็นพิษ แต่อาการจะรุนแรงกว่าและมีภาวะติดเชื้อที่อวัยวะอื่นร่วมด้วย ในสตรีมีครรภ์อาจพบการคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งได้ หากทารกคลอดออกมาอาจมีภาวะติดเชื้อและเสียชีวิตในภายหลังได้

การป้องกันเบื้องต้น 

     1. ทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสกับอาหารและล้างมือก่อนหยิบจับเครื่องใช้หรืออาหารก่อนทุกครั้งเพื่อลดโอกาสปนเปื้อน

     2. แยกอาหารสดที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อออกจากอาหารที่ผ่านกระบวนการปรุงและฆ่าเชื้อแล้ว หรืออาหารที่สามารถกินได้โดยไม่ต้องผ่านการปรุง เช่น ผลไม้

     3. ควรปรุงอาหารให้สุกหรืออุ่นให้ร้อนก่อนทำการบริโภค

     4. ควรเก็บรักษาอาหารไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส (ช่องแช่เย็น) หรือต่ำกว่า รวมทั้งไม่นำอาหารออกมาวางในอุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน เพื่อลดอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อ

แนวทางการรักษา 

      พบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย โดยการเล่าประวัติอาหารที่บริโภค ทำการตรวจร่างกาย และตรวจเฉพาะโรคต่อไป โดยมั่วได้รับผลยืนยันแล้วแพทย์อาจทำการรักษาโดย 1.ใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อ และ 2.รักษาประคับประคองอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ปวด ให้เกลือแร่ หรือสารน้ำเป็นต้น ซึ่งโดยมากหากมีสุขภาพแข็งแรงสามารถหายได้ใน 7-10 วัน หลังจากรับการรักษา หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และอาจนานขึ้นถึง 3-6 สัปดาห์หากมีการติดเชื้อในสมอง

อ้างอิง 

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ลิสเทริโอซิส (Listeriosis) หรือ ลิสทีเรีย (Listeria). แหล่งที่มา : http://haamor.com/th/ลิสทีเรีย . สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2558.

รัฐพงศ์ รัตนภุมมะ. 2548. ข่าวประจำวัน : โรคลิสทีเรียกับคาวมปลอดภัยในการบริโภคอาหาร. แหล่งที่มา : http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id=892 . สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2558.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. Listeria / ลิสทีเรีย. แหล่งที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1307/listeria-ลิสทีเรีย. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2558.

ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง. แผ่นข้อมูลโรคติดต่อ โรคลิสเทริโอซิส (Listeriosis). แหล่งที่มา : http://www.mhcs.health.nsw.gov.au/publicationsandresources/pdf/publication-pdfs/7145/doh-7145-tha.pdf. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2558.

ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง. ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria Monocytogenes). แหล่งที่มา : http://fic.nfi.or.th/foodsafety/upload/damage/pdf/listeria_monocytogenes2.pdf . สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2558.

Unknown author. Listeria (Listeriosis). แหล่งที่มา : http://www.cdc.gov/listeria . Last seen 30 June 2015.

Unknown author. Listeria. แหล่งที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Listeria . Last seen 30 June 2015.



วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด
บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน                          กลุ่มที่เรียน 2
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                       รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ สกุล คริสโตเฟอร์ เจมส์ สต๊อต                                           รหัส52011812006
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
    1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. เทคโนโลยี
    3. สารสนเทศ
    4. พัฒนาการ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
   1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ
   2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
   3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
   4. การพยากรณ์อากาศ

3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
   1. ระบบอัตโนมัติ
   2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
   2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
   3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
   4. ถูกทุกข้อ

5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?        
1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์                                             
2. ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี                                                                       
3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ                             
4. การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
6. เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
   1. เทคโนโลยีการสื่อสาร
   2. สารสนเทศ
   3. คอมพิวเตอร์
   4. ถูกทุกข้อ

7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
   2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
   1. เครื่องถ่ายเอกสาร
   2. เครื่องโทรสาร
   3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
   4. โทรทัศน์ วิทยุ
9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจ
   2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และการสื่อสาร
   3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   4. จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?                         
1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้                                                                     
2. สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่                                                
4. ถูกทุกข้อ                                              



แบบฝึกหัด
บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ                                                    กลุ่มเรียน 4
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                     รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล คริสโตเฟอร์ เจมส์ สต๊อต                                                 รหัส 52011812006
คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.       จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การทำกิจกรรมหลักต่างๆในการจัดหา จัดโครงสร้าง ควบคุม ผลิต เผยแพร่ รวมไปถึงการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานทุกประเภท ซึ่งหมายรวมถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศจากภายในหรือภายนอก โดยนำเอาเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยในการจัดเก็บบันทึก ประมวลผล เผยแพร่ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงสารสนเทศได้สะดวก

2.       การจัดการสารสนเทศมีความสําคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
               ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูล จัดเก็บ ประมวลผล และนำเอาข้อมูลที่จำเป็นไปใช้ในด้านต่างๆที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นในการค้นคว้าศึกษา การหาข้อมูลที่ตอบสนองต่อความต้องการทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ร้านอาหาร สุขภาพ แหล่งท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ ทำให้เพิ่มช่องทางในการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศ และเกิดประโยชน์ในการวางแผนและเก็บสะสมข้อมูลในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงการจัดทำข้อมูลเพื่อประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การแสดงบัญชีตามกฎหมายกำหนด เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ที่เข้าถึงสารสนเทศได้มากกว่า และมีความรู้ทันต่อสารสนเทศ จะทำให้มีโอกาสในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าคนที่สามารถเข้าถึงได้น้อยกว่า

3.       พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
               แบ่งออกเป็น 2 ยุค ตามลักษณะการจัดเก็บสารสนเทศ ได้แก่ 1. การจัดการสารสนเทศโดยใช้มือ เป็นยุคแรกของการจัดเก็บสารสนเทศโดยจะมีการบันทึกโดยการเขียนหรือลงสิ่งพิมพ์ เช่น แคตาล็อก บัตรรายการ บรรณานุกรม รวมทั้งการจัดทำระบบการจัดเก็บสื่อสารสนเทศต่างๆให้เป็นหมวดหมู่ เช่น ระบบทศนิยมดิวอี้ซึ่งนำมาใช้ในห้องสมุด เป็นต้น 2. การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์ เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท เนื่องจากปริมาณสารสนเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีในยุคดังกล่าวสามารถทำให้การเข้าถึงสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บและประมวลผลของสารสนเทศที่ดียิ่งขึ้น

4.       จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
1. การจัดทำบัตรรายการหนังสือของห้องสมุด เช่น ระบบ Web OPAC ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2. การจัดทำและเขียน นิยายหรือบทความต่างๆ ลงบล็อกส่วนตัว หรือพื้นที่ออนไลน์
3. search engine เช่น Google.com

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                       กลุ่มเรียน 4
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                        รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล  คริสโตเฟอร์ เจมส์ สต๊อต                                                 รหัส  52011812006

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.      ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1)       การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล       
     1. ฮาร์ดดิสก์ (HDD; hard disk)
     2. ซีดีและดีวีดีรอม (CD and DVD rom)
     3. โซลิด สเตท ไดรฟ์ (SSD; solid state drive)          
2)      การแสดงผล
     1. จอแสดงผล (monitor)
     2. เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ (projector)
     3. ปรินเตอร์ (printer)
3)      การประมวลผล   
     1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU; central processing unit)
     2. หน่วยประมวลผลกราฟฟิก (GPU; graphic processing unit)
     3. เมนบอร์ด (mainboard)                           
4)      การสื่อสารและเครือข่าย
     1. เราเตอร์ (router)
     2. โมเดม (modem)
     3. สวิทชิ่ง ฮับ (switching hub)

2.       ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน

8        ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
3        Information Technology
2. e-Revenue
1        คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
3. เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
6        เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium และDecoder
10    ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการททำงาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
7        ซอฟต์แวร์ระบบ
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
9        การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
5        EDI
8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
4        การสื่อสารโทรคมนาคม
9. CAI
2        บริการชำระภาษีออนไลน์
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด
บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ                                                           กลุ่มเรียน  4
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                 รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล คริสโตเฟอร์ เจมส์ สต๊อต                                                 รหัส 52011812006

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ก. ความสามารถในการกลั่นกลอง และประเมินค่าสารสนเทศที่หามาได้
ข. ความสามารถในการตัดสินใจใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ
ค. ความสามารถของบุคคลในการสืบค้นและพัฒนาสารสนเทศ
ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ
2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ก. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
ข. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
ค. ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ
ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ก. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ข. สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
ง. ใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาสารสนเทศได้
4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
1         ก. โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
           ข. ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
           ค.  สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
           ง.   ช่วยบุคคลเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
 ก. 1-2-3-4-5                 ข. 2-4-5-3-1              ค. 5-4-1-2-3              ง. 4-3-5-1-2
แบบฝึกหัด

บทที่ 2  บทบาทสารสนเทศกับสังคม                                                กลุ่มเรียน  4
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                    รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล คริสโตเฟอร์ เจมส์ สต๊อต                                                    รหัส 52011812006

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่าง ๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ
1.1  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
                http://www.dek-d.com/
                http://www.vcharkarn.com/
                https://www.eduzones.com/

1.2  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
                http://www.thaifranchisecenter.com/
                http://www.smesreport.com/
                http://www.dbd.go.th/

1.3  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
                http://www.krobkruakao.com/
                https://www.thairath.co.th/
                http://www.isranews.org/

1.4  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
              http://www.autospinn.com/
                http://www.masci.or.th/
                http://www.diw.go.th/

1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
              http://www.fda.moph.go.th/
              http://www.doctor.or.th/
                http://www.thaiclinic.com/

1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
              http://www.royalthaipolice.go.th/
                http://www.rta.mi.th/
                http://www.atc-rta.com/

1.7  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
              http://eit.or.th/
                http://www.eeat.or.th/
                http://www.coe.or.th/

1.8  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
              http://www.kasetporpeang.com/
                http://www.rakbankerd.com/
                http://www.thaifeed.net/

1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่าง ๆ
              http://www.tddf.or.th/
                http://seedpwdthai.org/
                http://www.mahatai.org/

2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง
                - เว็บไซต์สำนักวิทยบริการ http://www.library.msu.ac.th/
                - ระบบ Web OPAC
                - ระบบ VPN ของทางสำนักวิทยบริการ ในการสืบค้นฐานข้อมูล
                    - ฐานข้อมูลสืบค้นออนไลน์
                - เว็บไซต์และระบบในการลงทะเบียน http://reg.msu.ac.th

3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
                ใช้สำหรับตรวจสอบสื่อต่างๆที่ห้องสมุดมีไว้เพื่อให้บริการ ตรวจสอบประวัติยืม-คืนตัวหนังสือ สำหรับ VPN และฐานข้อมูลออนไลน์สามารถใช้เพื่อสืบค้นในการทำรายงาน วิจัย ปัญหาพิเศษได้ และเว็บไซต์ลงทะเบียนใช้สำหรับการตรวจสอบข้อมูลต่างๆของตัวเองซึ่งเกี่ยวข้องกับระเบียนประวัติและผลการศึกษา รวมไปถึงใช้สำหรับในการลงทะเบียน เป็นต้น